อัพเดททุกสาระ ข่าวสารเพื่อสุขภาพ มั่นใจไม่ตกเทรนด์
พิธีประกาศเจตนารมณ์ต่อต้านการทุจริตและไม่รับของขวัญและของกำนัลทุกชนิดจากการปฏิบัติหน้าที่ (No Gift Policy) กรมอนามัย ประจำปีงบประมาณ 2568
พร้อมอัพเดท
อย่างที่ทราบกันแล้วว่า Burnout Syndrome หรือ ??ภาวะหมดไฟในการทำงานได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโรคใหม่จากองค์การอนามัยโลก (WHO) โดยเป็นโรคที่เป็นผลจากความเครียดเรื้อรังในสถานที่ทำงาน ซึ่งควรได้รับการดูแลจากแพทย์เฉพาะทางก่อนจะรุนแรงและคุกคามการใช้ชีวิต เพราะฉะนั้นการหมั่นสังเกตสัญญาณเตือนและรู้เท่าทันโรคนี้จะช่วยให้รับมือได้อย่างถูกวิธีก่อนสายเกินไป ?? หลายคนมักสงสัยว่า ภาวะหมดไฟในการทำงาน (Burnout Syndrome) เป็นอาการของโรคซึมเศร้าหรือไม่ ซึ่งภาวะหมดไฟในการทำงานกับโรคซึมเศร้ามีความแตกต่างกันไม่ใช่โรคเดียวกัน แต่หากสงสัยไม่ว่าจะโรคใดอย่านิ่งนอนใจควรปรึกษาจิตแพทย์โดยเร็วที่สุด เพื่อจะได้รับการตรวจวินิจฉัยและทำการรักษาอย่างทันท่วงที ?? อ้างอิง ?? สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร. (2565).“ภาวะหมดไฟในการทำงาน Burn out”.สืบค้น 8 มิถุนายน 2566,จาก https://webportal.bangkok.go.th/msdbangkok/page/sub/23759/ภาวะหมดไฟในการทำงานBurnout Rama Channel. (2563).“ Burnout Syndrome ภาวะหมดไฟจากการทำงาน”.สืบค้น 14 มิถุนายน 2566, จาก https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/gallery/burnout-syndrome/
ดาวน์โหลดอินโฟกราฟิกนี้ | 1 ภาพ |
?? การที่มีสุขภาพที่ดีทุกคนต่างปรารถนาใช่ไหมคะ ? ดังนั้นก้าวท้าใจจะมาอธิบายคำจำกัดความของคำว่าสุขภาพค่ะ ซึ่งสุขภาพ หมายถึง ภาวะการณ์ดำรงชีวิตที่มีความสมบูรณ์ ทั้งร่างกาย จิตใจ รวมทั้งการอยู่ร่วมกันในสังคมได้ด้วยดี และอยู่บนพื้นฐานของคุณธรรมและการใช้สติปัญญานั้นเองค่ะ ???? ดังนั้นในปัจจุบัน คำว่าสุขภาพ จึงไม่ได้มีความหมายเฉพาะแค่สุขภาพกายและสุขภาพจิตเท่านั้นค่ะ แต่ยังรวมมิติทางสังคมและมิติด้านปัญญาอีกด้วย ?? สุขภาพดี 4 มิติ ที่เป็นองค์ประกอบของสุขภาพ ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องและพึ่งพากันยกตัวอย่าง เช่น ถ้าสังคมที่เราอาศัยอยู่มีการแข่งขันสูง บุคคลที่อาศัยจะชิงดีชิงเด่นมากกว่านึกถึงศีลธรรมอันดีงามจะก่อให้เกิดความเครียดตามมา และส่งผลกระทบต่อสุขภาพตามมานั้นเองค่ะ ???? ดังนั้นเพื่อรักษาสุขภาพของตนเองให้สมบูรณ์ เราควรนำมิติทั้ง 4 นี้มาวางแผนสุขภาพให้มีระบบนั้นเองค่ะ ?? อ้างอิง ?? thaihealth. (2565).”สุขภาพดี 4 มิติ”.สืบค้น 31 พฤษภาคม 2566,จากhttps://www.thaihealth.or.th/?p=320543
ดาวน์โหลดอินโฟกราฟิกนี้ | 1 ภาพ |
เคยเป็นไหมคะ? ยิ้มง่าย ถ่ายคล่อง แต่ทำไมหลับไม่สนิทตลอดคืน????!?? ???? นั่นเพราะมีความเครียดสะสม จนทำให้นอนไม่หลับ ซึ่งเคล็ดลับในการหลับง่ายนั้น??ไม่ใช่ยาหรืออาหารเสริมตัวใด แต่เป็นท่าบริหารง่ายๆ ที่มีการเปิดและบิดสะโพก จนช่วยให้ผ่อนคลายความเครียด ???? เนื่องจากกระดูกสันหลังเป็นศูนย์รวมของเส้นประสาทต่าง ๆ ดังนั้น การเปิดหรือบิดสะโพกเบาๆ จะช่วยคลายความตึงของเส้นประสาท ทำให้เรารู้สึกสบาย?? ความเครียดจากชีวิตประจำวันจึงลดลง เมื่อถึงเวลานอนก็หลับลึก เป็นการนอนที่มีประสิทธิภาพ วันนี้แอดมาแนะนำ ???? การบริหารร่างกายก่อนนอน ช่วยให้นอนหลับสนิท?? ตื่นมาสดชื่น ไม่ปวดเมื่อย โดยสามารถทำง่าย ๆ 6 ท่า ไปดูกันเลยว่าจะมีท่าอะไรบ้าง ไปดูกันเลยย?? ?? อ้างอิง ?? RAMA Channel. (2562).” 6 ท่าบริหารผ่อนคลายก่อนนอน”.สืบค้น 05 มิถุนายน 2566,จาก https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/infographic/6-ท่าบริหารผ่อนคลายก่อนน/
ดาวน์โหลดอินโฟกราฟิกนี้ | 1 ภาพ |
6 เคล็ดลับ สำหรับการมีกิจกรรมทางกายกับเบาหวานชนิดที่ 2 ?????? 1.ออกกำลังกายแบบแอโรบิคเป็นประจำจะช่วยควบคุม ระดับน้ำตาลในเลือด ?? 2.การออกกำลังกายแบบแรงต้านที่มีระดับหนักจะช่วยได้มากกว่าการออกกำลังกายระดับต่ำถึง ปานกลาง ???? 3.มีกิจกรรมหลังมื้ออาหารช่วยให้ผู้ที่เป็นเบาหวาน ชนิดที่ 2 ลดระดับน้ำตาลในเลือด ?? 4.หลีกเลี่ยงการกระแทกระหว่างหรือหลังออกกำลังกาย ?? 5.ผู้ใช้ยาเบต้า บล็อกเกอร์ไม่ใช้เครื่องวัดการเต้นของหัวใจในการวัดความเข้มข้นของการออกกำลังกาย และควรสอบถามผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการประเมินระดับการรับรู้การออกแรงของร่างกาย ?? 6.กำหนดเวลาออกกำลังกาย พยายามกำหนดเวลาออกกำลังกายหลังมื้ออาหาร เพื่อรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่ ?
ดาวน์โหลดอินโฟกราฟิกนี้ | 1 ภาพ |
?? การนอนหลับเป็นเรื่องสำคัญอย่างหนึ่ง และปัญหานอนไม่หลับ เป็นเรื่องที่พบได้บ่อยถึง 1 ใน 3 ของประชาชนทั่วไป ?? ในผู้ที่มีปัญหานอนไม่หลับ มักจะมีปัญหาสุขภาพตามมาหลายอย่าง เช่น โรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน หรือก่อให้เกิดอุบัติเหตุขณะทำงานเช่น ขับรถ รวมถึงส่งผลทำให้สุขภาพจิตใจแย่ลง ?? หากใครมีปัญหาเรื่องการนอนหลับ ลองทำตามได้เลย หรือใครลองแล้วลองมาคอมเมนต์ว่าเห็นผลหรือไม่ แอดรออ่านอยู่น้า??!! ?? อ้างอิง ?? กรมอนามัย และสมาคมโรคจากการหลับแห่งประเทศไทย.(2559).” 14 วิธีทำให้การนอนหลับของคุณดีขึ้น” (แผ่นพับ).
ดาวน์โหลดอินโฟกราฟิกนี้ | 1 ภาพ |